Sunday, April 30, 2017

[Review] ตีบวกเรซูเม่ สวยๆด้วย Microsoft Office Specialist Certification

สร้างความต่างให้กับเรซูเม่ ด้วย certificate จาก Microsoft
อยากสมัครงานใหม่ แต่เรซูเม่ยังไม่เจ๋งพอ?
จริงๆมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความน่าจะเป็นที่จะทำให้เราได้งานที่เราอยากจะทำหรือเปล่าครับ แต่ที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆคงหนีไม่พ้นเรื่องของ skills ที่จำเป็นกับงานที่เราอยากจะทำ

แต่การมี skills อย่างเดียวไม่พอฮะ เราต้องสื่อสารไปหานายจ้างของเราด้วยว่า "นายครับ เรามีของนะฮะ" 😝 (คือถ้าทำเป็น ทำเก่งด้วย แต่เจ้านายไม่รู้ โอ้โหววว เสียของๆ 555+) และการไปหาใบ certificate จากสถาบันที่เป็นที่รู้จักมาแปะใส่เรซูเม่ของเราคือการส่ง signal อย่างนึงนั่นเอง (ความเห็นส่วนตัว เราคิดว่ามันค่อนข้างมีผลกับการสมัครงานเลยทีเดียว ถ้าเกิดใบเซอร์นั้นมาจากสถาบันที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของ industry)

Microsoft เข้าข่ายนี้มากเลย เพราะเป็นบริษัทที่ใครๆก็รู้จักและใช้กัน ทางฝั่ง business ถ้าเอาเฉพาะ MS Office ตัวหลักๆก็พวก Word, PowerPoint, Excel, Outlook เป็นต้น ตัวที่ดูจะใช้ยากที่สุดและเป็นที่ต้องการมากอันดับต้นๆคงหนีไม่พ้น Excel ฮะ ทุกวันนี้ข้อมูลมีเยอะมาก และการใช้ spreadsheet เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลด้วยกราฟและชาร์ทเบื้องต้นก็เป็นทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน (Excel ยังเป็นด่านแรกของคนที่อยากทำงานด้าน data analytics/ data science ด้วยฮะ)

บล๊อกวันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคการสอบ Microsoft Office Specialist Excel 2016 Core Data Analysis 77-727 ให้อ่านกันครับ เราเพิ่งไปสอบมาเมื่อวานนี่เอง (25 เมษายน 2560) สอบเสร็จก็รู้ผลเลย ผ่านไปแบบสบายๆฮะ 🙏

Wednesday, April 26, 2017

Let's make a deal ปริศนาความน่าจะเป็นสุดคลาสสิคกับการตัดสินใจครั้งสำคัญ

Let's make a deal ทีวีโชว์ปริศนาความน่าจะเป็นสุด classic ที่เริ่มออนแอร์ในประเทศอเมริกาในปี 1963
สมมติว่ามีประตูอยู่ตรงหน้าคุณ 3 บาน (A,B,C) ...

ประตูสามบานนั้น มีอยู่บานนึงที่มี BMW เป็นของรางวัล 
อีกสองบานมีแพะเป็นของปลอบใจ 
และคุณสามารถเลือกได้หนึ่งประตูเท่านั้น 

สมมติว่าคุณเลือกประตู A เพราะคิดว่า รถต้องอยู่หลังประตูบานนี้แน่ๆ
ตอนนี้จะเหลืออีกสองประตู ประตู B และ C ที่ไม่ได้ถูกเลือก
พิธีกรรายการชื่อ Monty Hall จะตัดประตู B หรือ C ที่มีแพะอยู่ทิ้งไปหนึ่งบาน (สมมติว่า Monty เลือกตัดประตู B ทิ้ง) และถามคุณว่า ...
คุณจะตัดสินใจเปลี่ยนจากประตู A ที่คุณเลือกตอนแรกมาเป็นประตู C หรือเปล่า?
คำถามคือความน่าจะเป็นที่คุณจะชนะและได้รถ BMW เป็นเท่าไร ถ้าคุณยืนยันจะไม่เปลี่ยนประตู A ที่คุณเลือกในตอนแรก? ตอนนี้หลายๆคนอาจจะคิดว่าโอกาสได้รถหรือไม่ได้รถกลับบ้านมันเท่ากับ 50:50 เป๊ะเลย เพราะเหลือแค่สองประตู

Wednesday, April 19, 2017

สูตรลับ Growth Hacking ไม่ต้องใช้เงินโฆษณาเยอะ ก็ปั้นแบรนด์ให้ Hit ติดชาร์ทได้

ขอบคุณรูปจากหนังเรื่อง The Social Network (2010) - Facebook หนึ่งใน Growth Hacking Platform ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก
หยุดยาวช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา แอดไปเดินเล่นที่คิโนะ เห็นหนังสือเล่มนึงน่าสนใจดี เลยหยิบมาลองอ่านๆดูแล้วพบว่า "เฮ้ย แม่งสนุกว่ะ เจ๋งสัสๆ (555+)" เลยกลับบ้านมากดซื้อใน kindle สนนราคา 5.99 เหรียญเอง หนังสือชื่อว่า "Growth Hacker Marketing" เรียบเรียงโดย Ryan Holiday

มานั่งหาอ่านประวัติของพี่ Ryan คนนี้ก็ไม่ธรรมดาเลย อายุ 29 ปีแต่ว่าประสบการณ์ทำงานโชกโชนมากๆ งานหลักคือเป็น media strategist เคยเป็น marketing director ให้กับแบรนด์ดังอย่าง American Apparel งานรองคือเขียนหนังสือหลายเล่มมากๆ อย่าง "The Obstacle is the Way" (2014) ที่ได้รับการแปลมาแล้วกว่า 20 ภาษา และ "Ego is the enemy" (2016) อีกหนึ่งงาน masterpiece ที่เพิ่งออกมาเมื่อปีที่แล้วนี่เอง

ส่วนหนังสือ Growth Hacker เล่มใหม่ยกตัวอย่างแบรนด์ใหญ่ๆระดับโลกที่ประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น และ Ryan พยายามจะ crack ว่าแบรนด์เหล่านั้นทำได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Airbnb, Hotmail, Dropbox, Groupon, Pinterest, Snapchat, Evernote เป็นต้น แบรนด์เหล่านั้นเริ่มด้วยการเป็น start-up ไม่ได้จ้าง agency ช่วยโปรโมทแบรนด์ ไม่ได้ทำโฆษณาใช้เงินเป็นร้อยเป็นพันล้าน (zero marketing budget) ผู้ก่อตั้งบริษัทไม่ได้เรียนการตลาดมาด้วย แต่เค้าเปลี่ยนเงินลงทุนไม่กี่ร้อยเหรียญกลายเป็นระดับ 7-8 หลักภายในเวลาสั้นๆได้ยังไง? เด๋วเรามาลองดูไอเดียของ Growth Hacker Marketing ไปพร้อมๆกันในบล๊อกวันนี้ครับ

Wednesday, April 12, 2017

4 ขั้นตอนพัฒนาความจำ เรียนยังไงให้ไม่ลืม โดย Kevin Horsley ชายที่มีความจำดีที่สุดในโลก

ภาพจากหนังเรื่อง Limitless (2011) นำแสดงโดย Bradley Cooper ที่เค้ากินยาชนิดนึงเข้าไปและทำให้สมองทำงานได้เต็มที่ 100%


ถ้าเกิดวันนี้สมองเราจำทุกอย่างได้หมด จะดีแค่ไหน? จำได้หมดทุกหนังสือที่เราเคยอ่าน ทุกเลคเชอร์ที่เราเคยเรียน ทุกสิ่งที่เราอยากจะเข้าใจเหมือนในหนังเรื่อง Limitless (2011) ทีพระเอกระเบิดพลังสมองเต็มร้อยเปอร์เซ็น เรียนรู้และจำทุกอย่างได้หมดเลยภายในระยะเวลาสั้นๆ

ตั้งแต่เด็กๆ เราเคยได้ยินหลายคนพูดว่า "อย่าเรียนหนังสือแบบท่องจำ แต่ต้องเรียนด้วยความเข้าใจ" การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยความจำจึงเป็นเหมือนสิ่งที่ผิดและไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งๆที่จริงๆแล้วเราอาจจะเข้าใจเรื่องๆนึง แต่ถ้านึกไม่ออกหรือจำไม่ได้ ก็เอาความรู้นั้นมาใช้ต่อลำบาก เหมือนคำกล่าวที่ว่า "understanding does not create use, unless you remember it" แสดงว่าความจำกับความเข้าใจมันควรจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
ความทรงจำ "memory" เป็นสิ่งที่ทำให้เราเป็นเราทุกวันนี้เลย มันกำหนดคุณภาพการตัดสินใจ รวมถึงคุณภาพชีวิตของเรา
สมองเราเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลก และสองทักษะที่สมองเราทุกคนสามารถทำได้คือเรียนรู้และจดจำ (learn and memorize) โดย Learning คือกระบวนการที่สมองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ส่วน Memory คือความสามารถในการกักเก็บข้อมูลนั้นในสมองของเรา แต่ปัญหาที่คนทั่วไปเจอคือเรียนมาแล้วก็ลืม สมองไม่สามารถเรียกความรู้ที่เราเคยเรียนไปแล้วกลับมาใช้ได้เลย

ค่า pi ในทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าประมาณ ~3.1415926... มีทศนิยมที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ซ้ำกันเลย ซึ่งเป็นเรื่องยากมากถ้าวันนี้จะหาคนที่จะจำทศนิยมค่า pi ได้เป็นหมื่นหลัก?

รายการ The Everest of Memory Tests จัดการแข่งขันความจำโดยให้ผู้เข้าแข่งขันจำตัวเลขทศนิยมของ pi ถึง 10,000 digits โดยแบ่งตัวเลขนี้ออกเป็น 5 ชุด ชุดละ 2,000 digits และผู้เข้าแข่งขันต้องเอ่ยตัวเลขทั้ง 5 ชุดนี้จากหน้าไปหลัง และจากหลังไปหน้า เป็นความท้าทายที่มนุษย์ทั่วไปน้อยคนจะทำได้

คนแรกที่เคยทำได้คือ Philip Bond (UK) ทำสถิติไว้ที่ 53 นาที ในปี 1994 ถัดมาคือ Kevin Horsley ทุบสถิติของ Bond ด้วยเวลา 39 นาที ในปี 1999 ถัดจากนั้นก็มี Jan Harms (Germany) และ Mats Bergsten (Sweden) ในปี 2007 และ 2008 ด้วยเวลา 20 นาที 30 วินาที และ 17 นาที 39 วินาที ตามลำดับ

Monday, April 10, 2017

หัดทำ Central Limit Theorem ด้วยโปรแกรม Excel ง่ายอะไรเบอร์นี้

CLT คือหัวใจสำคัญของการทำงานสถิติแบบ inference เลย




วันนี้มาลองทำ central limit theorem หนึ่งในทฤษฏี holy pillar ของนักสถิติไปพร้อมกับเรานะครับ แอดชอบมากเลยเวลาสอนเรื่องนี้ สนุก ฮ่าๆ นักสถิติใช้ CLT ในการทำงานกับตัวแปรสุ่มที่เราไม่รู้ว่า distribution จริงๆของมันเป็นอย่างไร CLT ยังมีความสัมพันธ์กับสถิติอื่นๆที่มี assumption เรื่อง normal distribution อีกด้วย (หรือที่ภาษาง่ายๆเรียกว่า bell curve, ชื่อทางการอีกอันคือ Gaussian)

ถ้าวันนี้เราเข้าใจ CLT ชีวิตเรากับการเรียนสถิติเบื้องต้น และการทำ inference จะมีเหตุมีผลขึ้นอีกเยอะเลย มาเริ่มกันที่นิยามของทฤษฏีนี้กันก่อนดีกว่า แล้วเด๋วเราจะไปลองทำใน Excel ด้วยกันนะครับ
sample statistics ที่เราคำนวณได้จากการสุ่มซ้ำจะมีการกระจายตัวใกล้เคียงกับ normal distribution เสมอ
โดย sample statistics ในนิยามที่กล่าวข้างต้นคือค่าสถิติที่เราทำการ estimate ขึ้นมา เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่า odds ratio หรือแม้แต่ regression coefficient ถ้าเราสุ่มซ้ำ 100 รอบ 1000 รอบแล้วเอาค่าสถิติที่คำนวณได้จากการสุ่มแต่ละครั้ง (expected values with finite variance) มาสร้างกราฟ histogram เพื่อดู distribution จะเห็นว่ากราฟของเราจะออกมา approximately normal เสมอเลย 👊

Sunday, April 9, 2017

The misuse of p-value ความเข้าใจผิด ผลซิกแบบฟลุ๊คๆ กับเรื่องที่อาจารย์ไม่เคยบอก

เรื่องที่ดูเหมือนง่าย แต่ว่าเข้าใจยากเหลือเกิน


ทำไม American Statistical Association (ASA) ถึงต้องประกาศให้นักวิจัยกลับไปศึกษาการใช้ p-value ใหม่ และต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดก่อนที่จะได้ตีพิมพ์? บาง journal ถึงกับบอกเลิกไม่ต้องใช้ p-value เลยก็มี

เพราะ p-value เป็น concept ที่ดูเหมือนง่าย แต่เอาจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด ค่าๆนี้ที่ถูกใช้แบบผิดๆมาเกือบร้อยปี วันนี้เราจะมาอธิบายให้เพื่อนๆที่อ่านได้เข้าใจเอง

งั้นเราขอเริ่มจากที่มาของ p-value ก่อน ย้อนกลับไปปี 1925 Ronald A. Fisher เป็นคนแรกที่คิดค้นการใช้ p-value ขึ้นมา โดยชื่อทางการของมันคือ "observed level of significance" 

ถ้าเขียน definition ของมันตามหลักสถิติ จะเขียนได้แบบนี้
p-value = p ( observed data or more extreme | ho is true )
แปลไทยว่า ความน่าจะเป็นที่เราจะเห็นผลที่อยู่ตรงหน้าเรา (observed) หรือว่ายิ่งกว่านั้น (more extreme) ถ้าเกิดสมมติฐานหลัก (ho) เป็นเรื่องจริง แต่แค่ p-value อย่างเดียวไม่สามารถใช้ในการพิสูจน์ได้ว่าเราจะ retain หรือว่าจะ reject ho ตัว Fisher เลยคิดค่า 0.05 ขึ้นมาจากไหนก็ไม่รู้ เอาเป็นว่า 0.05 เป็นค่าที่ Fisher สบายใจอยากจะใช้ #แบบนี้ก็ได้เหรอ และนั่นคือที่มาของ 0.05 ที่เราใช้กันในปัจจุบัน 555+ ถ้าใครถามว่ามันมาจากไหน ก็บอกเค้าไปว่า Fisher เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1925 แล้ว

ถ้าเกิด p-value <= 0.05 เราก็จะสรุปว่าเจอผล significance และ reject ho แต่ถ้าเกิด p-value > .05 ก็สรุปว่า not significance และ retain ho <ปล. retain แปลว่าไม่ปฏิเสธนะ> 

อ่อ ตะกี้ลืมบอกว่าสมัย Fisher นั้น มีแค่ ho อย่างเดียว ยังไม่มี ha เลยครับ สมัยนั้นเค้าเรียกกันว่าระบบ single null hypothesis testing

Sunday, December 18, 2016

Naked Statistics ทำไมต้องเรียนสถิติ?

Naked Statistics (2013) by Charles Wheelan


สถิติคืออะไร เรียนไปทำไม เป็นสิ่งที่อาจารย์ไม่เคยบอก เข้าห้องเรียนไปแบบงงๆ สูตรเต็มไปหมดเลยแล้วก็สอบให้มันผ่านๆไป ... แค่นั้น จริงหรอ !?

คนส่วนใหญ่บอกว่าไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ เลยไม่ชอบสถิติ แต่สองวิชานี้ต่างกันตรงนี้ฮะ ... pure mathematics เป็นเรื่องของการคำนวณพิสูจน์สมการล้วนๆ ... ส่วน statistics เป็นเรื่องของความหมายที่มากับตัวเลข... ซึ่งถ้าเราเข้าใจความหมายและที่มาของตัวเลขเหล่านั้น จะทำให้เราเข้าใจปรากฎการณ์ที่เรากำลังศึกษาอยู่ และช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องนั้นๆได้ดีขึ้นอย่างมาก ก. ล้านตัว และนี่คือประโยชน์ของการเรียนสถิตินั่นเอง

สถิติช่วยให้เราเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ เริ่มตั้งแต่ DNA ของมนุษย์ไปจนถึงการซื้อล๊อตเตอรี่ แพทย์สามารถใช้สถิติเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลกับความเสี่ยงของโรคต่างๆได้ นักการตลาดใช้สถิติเพื่อพยากรณ์ยอดขาย เป็นต้น ไม่ว่าวันนี้เราจะทำงานในสายงานไหน ความรู้ความเข้าใจในสถิติจะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น ตัดสินใจได้ดีขึ้น และไม่ถูกหลอกได้ง่ายๆ ด้วยตัวเลขที่ถูกนำเสนอผ่านโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ รายงานบริษัท อินเตอร์เน็ท หรือ poll แบบสอบถามต่างๆ
"โลกนี้มีการโกหกอยู่ 3 แบบ ได้แก่ Lies (โกหก), Damned Lies (ตอแหล), and Statistics (สถิติ)" กล่าวโดย เบนจามิน ดิสราเอลี่ นายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ ช่วงปี 1800s
โดยหนังสือในตำนาน ขายดีระดับโลกอย่าง How to lie with statistics เขียนโดย Darrell Huff ในปี 1954 ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ชัดเจนมากๆ ว่าสถิติสามารถบิดเบือนความจริงได้ขนาดไหน เวอร์ชั่นแปลไทยของหนังสือเล่มนี้ก็มีแล้ว (แต่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง 555+) มันเป็นเรื่องง่ายมากเลยที่เราจะหลอกคนด้วยสถิติ ยิ่งคนที่ไม่เข้าใจสถิติเนี่ย ยิ่งถูกหลอกได้ง่ายไปอี๊กกก เสียงสูง! ตัวอย่างเช่น ข่าวด้านล่างนี้