Monday, November 28, 2016

ต้องใช้เวลาเรียนกี่ชั่วโมง สมองถึงจะเก่งเรื่องนั้นๆ?

Daniel Kahneman ผู้เขียนหนังสือ "thinking fast and slow" และ Nobel prize winner ปี 2002 สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้ศึกษาเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ และสรุปไว้ว่า

สมองเราจะเรียนรู้เรื่องนึงๆได้อย่างชำนาญ หากเราฝึกฝนเรื่องนั้นๆเป็นเวลาประมาณ 10,000 ชั่วโมง ...

Daniel Kahneman
Daniel Kahneman at Ted Talk









ผลของการฝึกฝนเรื่องหนึ่งๆจนครบ 10,000 ชั่วโมง คือการที่สมองของเราสามารถตอบสนองและตัดสินใจเรื่องนั้นๆได้อย่างรวดเร็ว และแทบจะไม่ต้องใช้พลังงานในการคิดเลย หรือที่ อ. Kahneman เรียกว่า ระบบ "autopilot" (fully developed after 10,000-hour training)

ตัวอย่างเช่น ภาษาไทยที่เราใช้พูดกันอยู่ตอนนี้ ที่เราสามารถพูด อ่าน เขียนได้ โดยกระบวนการต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว automatic และใช้พลังงานสมองเราน้อยมากๆ เพราะเราเรียนรู้และใช้ภาษาไทยมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เกินหมื่นชั่วโมงมาเยอะแล้ว

แต่ (สำหรับคนส่วนใหญ่ในบ้านเรา) ถ้าเราต้องเปลี่ยนไปใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สมองเราจะใช้พลังงานมากขึ้น ต้องคิดก่อนพูด และมันยากกว่าการใช้ภาษาไทยเยอะเลย 😱 ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษ การฝึกใช้เป็นประจำเป็นเรื่องสำคัญ

อีกตัวอย่างคือ การท่องสูตรคูณ เราตอบได้เร็วมาก ว่า 2 x 2 เท่ากับ 4 หรือ 5 x 5 เท่ากับ 25 โดยที่ไม่ต้องคิดเลย เราตอบได้อย่างรวดเร็วและกระบวนการคิดเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เพราะเราฝึกมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ถ้าเจอโจทย์ที่ยากขึ้นอย่าง 25 x 37 เอิ่มมม ขอหยิบกระดาษแป๊ป! ระบบ automatic จะไม่สามารถทำงานได้ หากเราเจอโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นและไม่คุ้นเคยกับมัน นอกซะจากว่าเราฝึกคูณเลขสองหลักมาตั้งแต่เด็กๆ ปัญหานี้ก็น่าจะถูกแก้ได้โดยที่เราไม่ต้องคิดเยอะเลย

การเรียนรู้ของมนุษย์ ไม่เหมือนการเรียนในห้องเรียนที่แค่ฟังอาจารย์ในห้องสอนแล้วจะเข้าใจเลย แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบ associative learning ผ่านประสบการณ์ จากการทำซ้ำๆและฝึกฝน

Neural network
Neural Network
ในแง่ neuroscience (วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมองๆ) คือในสมองจะมี cell ระบบประสาทขั้นพื้นฐานที่เรียกว่า neuron (อ่านว่า นิวรอน) ซึ่งเวลาเราเรียนรู้เรื่องหนึ่งนานขึ้นเรื่อยๆ นิวรอนจะรวมตัวกันขึ้นเป็น neural network หรือเครือข่ายนิวรอน ยิ่งเรียนมาก เครือข่ายจะก่อตัวแน่นขึ้น แปลว่าสมองเราจะเข้าใจและสามารถตอบสนองกับเรื่องนั้นๆได้ดีขึ้นนั่นเอง

ความลับของการเรียนรู้ คือ "there is no shortcut ทางลัดไม่มีอยู่จริง" ยิ่งเราให้ "เวลา" กับสิ่งหนึ่งมากขึ้นเท่าไร เราก็เพิ่มโอกาสที่จะเก่งเรื่องนั้น มากขึ้นเท่านั้น เมื่อสมองเราพัฒนาเต็มที่กับเรื่องที่เราสนใจ นักจิตวิทยาเรียกผลของการฝึกฝนนี้ว่า "intuition" (การหยั่งรู้ด้วยสัญชาตญาณ)

แปะวีดีโอไว้ เผื่ออยากดูนะฮะ ดีงามพระรามเก้ามากๆ Talk ของอาจารย์ที่ Google พูดเรื่องนี้ไว้ดีมากๆ เรื่อง intuitive expertise ตั้งแต่นาทีที่ 15.00 เป็นต้นไป

Talk ของ อ. Kahneman ที่ Google

Talk ของ อ. Kahneman ที่ Ted

Daniel Kahneman ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาที่ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์ ด้วยผลงานที่ทำร่วมกับเพื่อนชื่อ Amos Tversky ที่เสียชีวิตไปในปี 1996 ถ้าหาก Tversky ยังมีชีวิตอยู่ แน่นอนว่าเค้าต้องได้ร่วมแชร์ Nobel prize กับ Kahneman ในปี 2002 แน่ๆ 

ถ้าใครอยากศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่อง decision sciences  ลองหาหนังสือของ อ.มาอ่านนะฮะ ชื่อ thinking fast and slow หาซื้อได้ที่ AsiaBooks Kinokuniya เดินตรงไปที่ shelf จิตวิทยานะครับ 😀

#happyLearning 

1 comment: