Wednesday, November 30, 2016

มาทำความรู้จักกับ SQL สกิลที่วันนี้เป็นที่ต้องการมากที่สุดด้าน IT/ Business

สมัยเรียนจบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ ปี 2010 ก็เคยคิดว่าใช้โปรแกรมเป็นแค่ Microsoft Office พวก Word, PowerPoint, Excel ก็คงพอแล้วในการทำงานออฟฟิซทั่วไป หางานทำได้ง่ายๆสบายๆ (ตอนนั้นทำ Eviews, SPSS ได้แบบงูๆปลาๆมากๆ เพราะที่มหาลัยก็ไม่ได้สอนจริงจัง)

ตอนนี้ก็ทำงานมาหลายปีแล้ว สิ่งที่อยากจะฝากเด็กรุ่นใหม่ๆที่กำลังเรียนอยู่ หรือน้องๆที่เพิ่งจบมาว่า ...
"การใช้โปรแกรมเป็นแค่ office พื้นฐาน ไม่ได้ทำให้น้องแตกต่างจาก candidate คนอื่นๆเลยตอนสมัครงาน แถมตอนนี้โลกเราไปไกลมากแล้ว ทักษะด้านโปรแกรม office งานเอกสารทั่วไปที่น้องมีอยู่ตอนนี้อาจจะไม่พอแล้วกับการทำงานในปัจจุบัน"
คือเรื่องของเรื่องเป็นแบบนี้ฮะ
เรา: วันก่อนครับ
เพื่อน: ทำไมครับ?
เรา: ไปสัมภาษณ์งานที่ Facebook มาครับ (ตำแหน่ง Measurement Lead Thailand)
เพื่อน: แล้วเป็นไงครับ?
เรา: เค้าถามว่าทำ SQL เป็นไหม?
เพื่อน: แล้วทำเป็นไหมน่ะ
เรา: ... (ในรอยยิ้มมีน้ำตาซ่อนอยู่)
... ลาก่อยยยย Facebook ... ร้องไห้หนักมาก เพราะทำ SQL ไม่เป็น 😭 555+

Facebook ประเทศไทยกำลังตามคนที่ต้องทำงานกับ database เยอะมาก ดึงข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เบื้องต้น รวมถึงมีความรู้ทางสถิติ การออกแบบการทดลอง digital research และมีความรู้เรื่อง digital marketing ที่ดีระดับนึงเลย แต่ตอนสัมภาษณ์มาตายตอนที่เค้าถามเรื่อง SQL นี่แหละ เราก็บอกเค้าไปตรงๆว่าทำไม่เป็น ใช้ R แทนได้ไหม 555+ คนสัมภาษณ์เลยบอกว่า "thank you for letting me know, this will be part of our consideration" ... แปลว่า ยูไม่น่าเหมาะกับตำแหน่งนี้นะ 555+

Video interview with Facebook Singapore
อันนี้ตอนสัมภาษณ์กับทีม Marketing Science ของ Facebook Singapore



จริงๆเคยได้ยิน SQL มานานมากแล้ว และรู้สึก "พลาดมาก" ที่ไม่ยอมเรียนมันไว้แต่เนิ่นๆ พอสัมภาษณ์ Facebook เสร็จ รีบเปิด google หาคอร์สเรียนออนไลน์เลย และไปจบลงที่คอร์สของอาจารย์ Jose Portilla Data Scientist ที่สอนอยู่บนเว็บ Udemy เพิ่งเรียนจบวันนี้เลย เด๋วเราจะมาอธิบายให้ฟัง

Monday, November 28, 2016

ต้องใช้เวลาเรียนกี่ชั่วโมง สมองถึงจะเก่งเรื่องนั้นๆ?

Daniel Kahneman ผู้เขียนหนังสือ "thinking fast and slow" และ Nobel prize winner ปี 2002 สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้ศึกษาเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ และสรุปไว้ว่า

สมองเราจะเรียนรู้เรื่องนึงๆได้อย่างชำนาญ หากเราฝึกฝนเรื่องนั้นๆเป็นเวลาประมาณ 10,000 ชั่วโมง ...

Daniel Kahneman
Daniel Kahneman at Ted Talk









ผลของการฝึกฝนเรื่องหนึ่งๆจนครบ 10,000 ชั่วโมง คือการที่สมองของเราสามารถตอบสนองและตัดสินใจเรื่องนั้นๆได้อย่างรวดเร็ว และแทบจะไม่ต้องใช้พลังงานในการคิดเลย หรือที่ อ. Kahneman เรียกว่า ระบบ "autopilot" (fully developed after 10,000-hour training)

ตัวอย่างเช่น ภาษาไทยที่เราใช้พูดกันอยู่ตอนนี้ ที่เราสามารถพูด อ่าน เขียนได้ โดยกระบวนการต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว automatic และใช้พลังงานสมองเราน้อยมากๆ เพราะเราเรียนรู้และใช้ภาษาไทยมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เกินหมื่นชั่วโมงมาเยอะแล้ว

แต่ (สำหรับคนส่วนใหญ่ในบ้านเรา) ถ้าเราต้องเปลี่ยนไปใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สมองเราจะใช้พลังงานมากขึ้น ต้องคิดก่อนพูด และมันยากกว่าการใช้ภาษาไทยเยอะเลย 😱 ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษ การฝึกใช้เป็นประจำเป็นเรื่องสำคัญ

อีกตัวอย่างคือ การท่องสูตรคูณ เราตอบได้เร็วมาก ว่า 2 x 2 เท่ากับ 4 หรือ 5 x 5 เท่ากับ 25 โดยที่ไม่ต้องคิดเลย เราตอบได้อย่างรวดเร็วและกระบวนการคิดเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เพราะเราฝึกมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ถ้าเจอโจทย์ที่ยากขึ้นอย่าง 25 x 37 เอิ่มมม ขอหยิบกระดาษแป๊ป! ระบบ automatic จะไม่สามารถทำงานได้ หากเราเจอโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นและไม่คุ้นเคยกับมัน นอกซะจากว่าเราฝึกคูณเลขสองหลักมาตั้งแต่เด็กๆ ปัญหานี้ก็น่าจะถูกแก้ได้โดยที่เราไม่ต้องคิดเยอะเลย